วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

IS

หลักการและเหตุผล
          มนุษย์เรา ไม่ว่าจะอยู่ในชาติไหน ยุคสมัยไหน ต่างก็มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง คำว่าวัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่การละเล่น การแสดง การร้องเพลง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติก็อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น บริเวณที่ตั้งของประเทศ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ การับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมา เป็นต้น
          ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติต่างก็มีความงดงามและคุณค่าในตัวเอง คนรุ่นเก่าต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการรักษาศิลปวัฒนธรรมของตนเองไว้ หากแต่เยาวชนในปัจจุบัน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เท่าที่ควร กลับไปหลงระเริงอยู่กับวัฒนธรรมสมัยใหม่จนไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างขึ้นมา จนนับวันเริ่มจะห่างหายไปกับความเจริญสมัยใหม่เข้าไปทุกที
          ผู้รายงาน เป็นเด็กไทยคนหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาและศิลปวัฒนธรรมจีนมาพอสมควร เกิดความสนใจในวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ งิ้ว ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของจีนที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกอย่างหนึ่ง ในปัจจุบัน เยาวชนจีนรวมทั้งชาวต่างชาติที่มีเชื้อสายจีน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับศิลปะแขนงนี้เท่าที่ควร คงมีแต่คนรุ่นเก่าที่ยังคงอนุรักษ์ไว้อยู่ ผู้รายงานต้องการเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ให้เยาวชนไทยโดยทั่วไป ให้ตระหนักถึงคุณค่าของงิ้ว จึงเลือกประเด็นนี้มาเขียนเป็นองค์ความรู้ โดยใช้หัวข้อ งิ้วในประเทศไทย

วัตถุประสงค์
      ๑.   เพื่อศึกษาความเป็นมาของงิ้วในประเทศไทย
      ๒.   เพื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงงิ้ว ได้แก่ โรงงิ้ว เครื่องแต่งกายงิ้ว การแต่งหน้างิ้ว การร้องงิ้ว
      ๓.   เพื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับคณะงิ้วในไทยในปัจจุบัน
      ๔.   เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องงิ้วแก่เยาวชนไทย
      ๕.  เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์การแสดงงิ้วในประเทศไทย ให้คงอยู่สู่คนรุ่นหลังสืบไป

สมมติฐาน
          การเผยแพร่ความรู้เรื่องงิ้วในประเทศไทยแก่เยาวชนไทย จะทำให้เยาวชนไทยหันมาสนใจการแสดงแขนงนี้ และช่วยกันอนุรักษ์ไว้

ขอบเขตการดำเนินงาน
      ๑ .  รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของงิ้วในประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงงิ้ว และคณะงิ้วในไทยในปัจจุบัน
      ๒.   ระยะเวลาของการดำเนินงาน คือ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
      ๓.   แหล่งค้นคว้าข้อมูล คือ หนังสือ อินเตอร์เน็ต และลงพื้นที่สัมภาษณ์นักแสดงงิ้วของมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ทงเซียเสี่ยงตึ๊ง) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประโยชน์ที่คาดว่าน่าจะได้รับ
      ๑ . ได้รับความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของงิ้วในประเทศไทย
      ๒ . ได้รับความรู้เกี่ยวกับการแสดงงิ้ว ได้แก่ โรงงิ้ว เครื่องแต่งกายงิ้ว การแต่งหน้างิ้ว การร้องงิ้ว
      ๓.  ได้รับความรู้เกี่ยวกับคณะงิ้วในไทยในปัจจุบัน
      ๔ . เยาวชนไทยมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสนใจในการแสดงงิ้วมากขึ้น
      ๕.  สามารถอนุรักษ์การแสดงงิ้วในประเทศไทย ให้คงอยู่สู่คนรุ่นหลังสืบไป

นิยามศัพท์เฉพาะ
      ๑.   งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲/戲曲;  อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด งิ้วได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และยกระดับงิ้วให้เป็น มรดกโลก
      ๒.   วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น การแสดง การร้องเพลง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ซึ่งวัฒนธรรมของคนแต่ละภาคในประเทศไทยก็มีความเหมือนและแตกต่างกันบ้างตามแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งการสืบทอดหรืออาจมีการดัดแปลงบ้างเพื่อให้มีความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น รวมทั้งสามารถประพฤติปฏิบัติกันได้อย่างทั่วถึงด้วยนั้นเอง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น