งิ้วปักกิ่งของจีนถูกขนานนามว่าเป็น“อุปรากรแห่งบูรพา” นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติขนานแท้ของจีน
เพราะเกิดขึ้นในปักกิ่ง จึงมีชื่อเรียกกันว่า “จิงจวี้”
ที่แปลเป็นไทยว่า “งิ้วปักกิ่ง” งิ้วปักกิ่งมีประวัติกว่า ๒๐๐ ปีแล้ว
ต้นกำเนิดของงิ้วปักกิ่งต้องย้อนหลังไปถึงงิ้วท้องถิ่นเก่าแก่บางชนิดในอดีต
โดยเฉพาะคือ “ฮุยปัน” ที่เป็นงิ้วท้องถิ่นที่เคยแพร่หลายอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของจีนเมื่อศตวรรษที่
๑๘ ในปี ๑๗๙๐ คณะงิ้วท้องถิ่น“ฮุยปัน”คณะแรกเข้าสู่กรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมงานแสดงเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาของจักรพรรดิ
หลังจากนั้น มีคณะแสดงงิ้ว“ฮุยปัน”จำนวนไม่น้อยได้ทยอยเข้าไปแสดงในกรุงปักกิ่ง
เนื่องจาก“ฮุยปัน”เคลื่อนย้ายไปมาตามที่ต่าง
ๆ บ่อย ๆ เข้าใจดูดซับเอาบทละครและศิลปะการแสดงของงิ้วชนิดอื่น ๆ
มาปรับใช้เป็นของตัวเองอยู่เสมอ
ประกอบกับปักกิ่งเป็นแหล่งที่รวมของงิ้วท้องถิ่นมากมาย จึงช่วยให้ “ฮุยปัน” ได้ยกระดับศิลปะการแสดงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ต้นศตวรรษที่ ๒๐ หลังผ่านการหลอมรวมเป็นเวลานานหลายสิบปี
งิ้วปักกิ่งจึงก่อรูปขึ้นในที่สุด
และกลายเป็นการแสดงงิ้วบนเวทีชนิดใหญ่ที่สุดของจีน
ในบรรดางิ้วชนิดต่าง
ๆ ของจีน งิ้วปักกิ่งครองอันดับหนึ่งในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความหลากหลายของบทละคร
จำนวนศิลปินนักแสดง จำนวนคณะแสดง จำนวนผู้ชมผู้ฟังและอิทธิพลที่กว้างขวาง เป็นต้น
งิ้วปักกิ่งเป็นศิลปะการแสดงสมบูรณ์แบบที่รวมศิลปะ“การขับร้อง” “การพูด” “การแสดงลีลา”
“การแสดงศิลปะการต่อสู้”และ“ระบำรำฟ้อน”เข้าไว้ด้วยกัน
ตัวละครของงิ้วปักกิ่งที่สำคัญแบ่งเป็น “เซิง”( เพศชาย) “ตั้น”( เพศหญิง)
“จิ้ง” ( เพศชาย) และ“โฉว”( มีทั้งเพศชายและเพศหญิง)
นอกจากนั้นยังมีตัวละครประกอบอีกจำนวนหนึ่ง
รูปแบบการแต่งหน้าเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของงิ้วปักกิ่ง
ความซื่อสัตย์กับความคดโกง ความงามกับความขี้เหร่
ความดีกับความชั่วและความสูงศักดิ์กับความต่ำต้อย เป็นต้น
ต่างก็แสดงให้เห็นได้โดยผ่านลวดลายในการแต่งหน้า เช่น
สีแดงใช้กับบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สีม่วงเป็นสัญลักษณ์แห่งความชาญฉลาด
ความกล้าหาญและความมีน้ำใจ สีดำสะท้อนถึงอุปนิสัยใจคอสูงส่งที่ซื่อตรง
สีขาวบ่งบอกถึงความคดโกงและความโหดเหี้ยมของคนร้าย
สีน้ำเงินแฝงไว้ซึ่งความหมายที่มีใจนักสู้และเก่ากล้า
สีเหลืองใช้กับตัวละครที่โหดร้ายทารุณ ส่วนสีทองกับสีเงิน
มักจะใช้กับตัวละครที่เป็นเทวดาและภูตผีปีศาจ
มีความเห็นทั่วไปว่า
ปลายศตวรรษที่ ๑๘ เป็นช่วงเวลาแรกที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดของงิ้วปักกิ่ง เวลานั้น
นอกจากมีสภาพการแสดงงิ้วที่เจริญคึกคักของภาคเอกชนแล้ว
การแสดงงิ้วภายในพระราชวังก็มีบ่อยครั้งเช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่า
บรรดาขุนนางผู้ดีเชื้อพระวงศ์ต่างก็ชื่นชอบงิ้วปักกิ่ง
ส่วนเงื่อนไขทางวัตถุที่ดีภายในพระราชวังก็ได้เอื้ออำนวยความสะดวกไม่น้อยแก่การแสดงงิ้วปักกิ่ง
ตั้งแต่การแต่งหน้านักแสดง เสื้อผ้าอาภรณ์ เวทีแสดงและการจัดฉากแสดง
เป็นต้น งิ้วในวังกับงิ้ว“ชาวบ้าน”ส่งผลต่อกันและกัน ทำให้งิ้วปักกิ่งมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างเป็นประวัติการณ์
ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๒๐ ถึง
ทศวรรษที่ ๑๙๔๐ ของศตวรรษที่ ๒๐ เป็นช่วงเวลาที่สองที่งิ้วปักกิ่งรุ่งเรืองเต็มที่
สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของงิ้วปักกิ่งในยุคนี้คือ งิ้วปักกิ่งสำนักต่าง ๆ
เกิดขึ้น งิ้วปักกิ่งสี่สำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือ สำนักเหมย สำนักซั่ง
สำนักเฉิงและสำนักสุน แต่ละสำนักต่างก็มีนักแสดงชื่อดังจำนวนมาก
พวกเขาออกแสดงงิ้วปักกิ่งตามเวทีละครอย่างคึกคักในเมืองใหญ่ ๆ เช่น
นครเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่งเป็นต้นอย่างคึกคัก
ทำให้ศิลปะงิ้วปักกิ่งปรากฏสภาพเจริญรุ่งเรื่องเต็มเปี่ยม
นายเหมยหลันฟัง เป็นหนึ่งในศิลปินนักแสดงงิ้วปักกิ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก
เขาเริ่มเรียนรู้การแสดงงิ้วตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ ขณะอายุ ๑๑ ปีก็ออกแสดงบนเวทีแล้ว
เหมยหลันฟังเป็นศิลปินนักแสดงงิ้วปักกิ่งนานกว่า ๕๐ ปี ระหว่างนี้ เขาได้ประดิษฐ์คิดสร้างและพัฒนาศิลปะงิ้วปักกิ่งในด้านต่าง ๆ
ตั้งแต่ทำนองการขับร้อง การพูด ระบำรำฟ้อน ดนตรี ชุดแสดงและการแต่งหน้าแต่งตัว
เป็นต้น ก่อรูปขึ้นเป็นท่วงทำนองศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตน ในปีค.ศ.๑๙๑๙
เหมยหลันฟังนำคณะงิ้วปักกิ่งเดินทางไปแสดงในประเทศญี่ปุ่น นับเป็นครั้งแรกที่ศิลปะงิ้วปักกิ่งแพร่หลายไปสู่โพ้นทะเล
ในปี ๑๙๓๐ เหมยหลันฟังนำคณะงิ้วปักกิ่งเดินทางไปแสดงที่อเมริกา
ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากเช่นกันต่อมา ปี ๑๙๓๔ เหมยหลันฟังเดินทางไปเยือนยุโรปตามคำเชิญ
ได้รับความสนใจยิ่งจากวงการงิ้วของยุโรป หลังจากนั้น
พื้นที่ต่าง ๆ
ทั่วโลกเริ่มถืองิ้วปักกิ่งเป็นสำนักวิชาการแสดงบนเวทีสำนักหนึ่งของจีน
เหมยหลันฟาง
ผู้ที่นำงิ้วปักกิ่งออกเผยแพร่ยังต่างประเทศเป็นคนแรก
นับตั้งแต่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา
ศิลปะงิ้วปักกิ่งได้รับการพัฒนาใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ งิ้วปักกิ่งในฐานะเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิมของจีนได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาลจีน
ทุกวันนี้ ในโรงละครใหญ่ฉางอานในกรุงปักกิ่งจัดแสดงงิ้วปักกิ่งตลอดทั้งปี
การแข่งขันงิ้วปักกิ่งของนักแสดงสมัครเล่นระหว่างประเทศที่จัดขึ้นทุกปีได้ดึงดูดผู้รักงิ้วปักกิ่งจากพื้นที่ต่าง
ๆ ทั่วโลกมาเข้าร่วม นอกจากนี้ งิ้วปักกิ่งยังเป็นรายการที่ขาดเสียมิได้ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศทุกครั้ง
ละครงิ้วปักกิ่งได้รับฉายาว่า"โอเปราตะวันออก"
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันเลิศล้ำของจีน
ได้ชื่อว่าเป็นงิ้วปักกิ่งก็เพราะก่อรูปขึ้นที่กรุงปักกิ่ง
ละครงิ้วปักกิ่งมีประวัติยาวนานกว่าสองร้อยปี
แหล่งกำเนิดของละครงิ้วปักกิ่งคือละครท้องถิ่นโบราณหลายชนิด
โดยเฉพาะ"ฮุยบาน"ซึ่งเป็นละครท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมกันในภาคใต้ของจีนเมื่อศตวรรษที่้๑๘
ละคร"ฮุยบาน"เป็นละครที่มักจะเคลื่อนที่ไปตามสถานที่ต่างๆ
ทำให้รับเอาเรื่องราวและวิธีการแสดงของละครอื่นมาผสมหลอมรวม
กรุงปักกิ่งได้รวบรวมละครท้องถิ่นหลายชนิด
ซึ่งทำให้ละคร"ฮุยบาน"ได้รับการพัฒนาขึ้นทางด้านศิลปะอย่างรวดเร็ว
เมื่อปลายศตวรรษที่19และต้นศตวรรษที่๒๐ ผ่านการผสมผสานเป็นเวลาหลายสิบปี
ละครงิ้วปักกิ่งจึงได้ก่อรูปขึ้น และได้กลายเป็นรูปแบบละครที่ใหญ่ที่สุดของจีน
ความสมบูรณ์หลากหลายของรายการ จำนวนมากมายของศิลปิน นักแสดง โรงละครและผู้ชม
ตลอดจนความกว้างขวางของอิทธิพลของละครงิ้วปักกิ่งต่างก็อยู่อันดับต้นๆในละครชนิดต่างๆของจีน
ละครงิ้วปักกิ่งเป็นศิลปการแสดงรวม ซึ่งได้ครอบคลุม"การร้อง(ร้องเพลง) การพูด(บทสนทนาละครงิ้ว)
การแสดงท่าทาง การเล่นบทวิทยายุทธ)และการรำ(แสดงระบำ)"เข้าด้วยกัน
เป็นการบรรยายเรื่องราวและอุปนิสัยของบุคคลโดยผ่านวิธีการแสดงรูปแบบต่างๆ
หน้ากากงิ้วเป็นศิลปะที่มีลักษณะพิเศษมากที่สุดในละครงิ้วปักกิ่ง
ความซื่อสัตย์หรือชั่วร้าย ความสวยหรือขี้เหร่ ความดีหรือร้าย
ฐานะชั้นสูงหรือต่ำของบุคคลต่างๆนั้น ล้วนสามารถแสดงออกโดยผ่านหน้ากาก
ยกตัวอย่างเช่น สีแดงแสดงว่านิสัยซื่อสัตย์
สีม่วงแสดงว่านิสัยกล้าหาญและมีความเฉลียวฉลาด
สีดำแสดงว่าบุคคลนี้มีอุปนิสัยที่ดีและซื่อสัตย์
สีขาวแสดงว่าบุึคคลนี้นิสัยชั่วใจร้าย สีน้ำเงินแสดงว่าแข็งแรงเก่งวิทยายุทธและกล้าหาญ
สีเหลืองแสดงว่านิสัยเหี้ยมโหดทารุณ ส่วนสีทองและสีเงินส่วนมากจะใช้แสดงเทวดา
พระพุทธรูปหรือพวกผีและปีศาจ หน้าทองตัวทอง
เป็นสักลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความว่างเปล่าและความปาฎิหาริย์
ช่วงปลายศตวรรษที่๑๘เป็นระยะขยายตัวช่วงแรกของการพัฒนาละครงิ้วปักกิ่ง
ในขณะนั้น ไม่เพียงแต่ละครงิ้วพื้นเมืองได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
การแสดงละครงิ้วภายในราชวังก็นิยมกันไม่น้อย
เนื่องจากฮ่องเต้และขุนนางต่างก็นิยมชมละครงิ้วปักกิ่ง
เงื่อนไขทางวัตถุที่ดีในราชวังสามารถอำนวยความสะดวกที่ดีในด้านต่างๆ เช่น การแสดง
การแต่งตัว การแต่งหน้าและการตกแต่งเวทีเป็นต้น
ละครในวังและละครพื้นเมืองมีอิทธิพลต่อกันและกัน
ทำให้ละครงิ้วปักกิ่งได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก เมื่อทศวรรษที่๒๐-๔๐ศตวรรษที่แล้วเป็นช่วงที่ละครงิ้วปักกิ่งเจริญมากเป็นช่วงที่สอง
ในช่วงนี้ สัญลักษณ์ความเจริญของละครงิ้วปักกิ่งคือการเกิดขึ้นของสำนักต่างๆ
ในจำนวนนี้ ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือสำนักเหมย(นายเหมย หลานฟาง) สำนักซ่าง(นายซ่าง
เสี่ยวหยุน) สำนักเฉิง(นายเฉิง เยี่ยนชิว) และสำนักสุน(นายสุน ฮุ่ยเซิง)สี่สำนัก
แต่ละสำนักละครงิ้วปักกิ่งก็มีนักแสดงที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่ง
พวกเขาได้แสดงละครงิ้วปักกิ่งบนเวทีของกรุงปักกิ่งหรือที่นครเซี่ยงไฮ้เป็นต้น
ทำให้เวทีศิลปะละครงิ้วปักกิ่งคึกคักเป็นอย่างยิ่ง
ทำให้ทั่วโลกพากันยึดถือเอาละครงิ้วปักกิ่งเป็นตัวแทนสำนักวิชาการละครของจีน
นับตั้งแต่จีนได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา
ละครงิ้วปักกิ่งก็ได้มีการพัฒนาในรูปแบบใหม่ ในฐานะเป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่
เลยได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาลจีน ปัจจุบัน
โรงละครฉางอันของกรุงปักกิ่งจะมีการแสดงรายการละครงิ้วปักกิ่งทุกปี
การแข่งขันแฟนละครงิ้วปักกิ่งระหว่างประเทศที่จัดขึ้นทุกปีได้ดึงดูดแฟนละครงิ้วปักกิ่งในท้องที่ต่างๆทั่วโลก
นอกจากนี้
ละครงิ้วปักกิ่งยังเป็นรายการประจำในการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น